สาระสุขภาพ เรื่อง โรคไอกรน
เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis
ผู้ที่ภูมิคุ้มกันปกติ เด็กโต และผู้ใหญ่ และผู้ที่ได้รับวัคซีน อาการจะไม่รุนแรง คล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่อาจไอต่อเนื่องได้นานเป็นสัปดาห์ และแพร่เชื้อได้
กลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรง = เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ผู้สูงวัย ผู้มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ระยะฟักตัว 5-21 วัน แพร่เชื้อได้ตั้งแต่เริ่มไอ มีน้ำมูก ถึง 21 วัน
ไอกรนมี 3 ระยะ
1. ระยะอาการหวัด อาการคล้ายไข้หวัด มีน้ำมูก ไข้ต่ำ 1-2 สัปดาห์
2. ระยะไอรุนแรง ไอติดต่อกันเป็นชุด อาจไอจนอาเจียน หากอาการรุนแรงในเด็กเล็ก อาจเขียวจากการขาดออกซิเจน หรือหยุดหายใจ มีอาการได้ 2-4 สัปดาห์
3. ระยะฟื้นตัว ไอและอาเจียนลดลง หายใน 2-3 สัปดาห์
รวมระยะโรคทั้งหมด อาจป่วยได้ถึง 6-10 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ใหญ่ ได้แก่ ปอดอักเสบ น้ำหนักลด รบกวนการนอน กลั้นปัสสาวะไม่ได้เพราะไอ
การป้องกัน สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีน
1. หากอายุน้อยกว่า 6 ปี รับวัคซีนให้ครบตามสมุดเล่มชมพู ถ้าขาดวัคซีนตัวใดแนะนำให้ตามฉีดจนครบ ปรึกษากุมารแพทย์
2. วัยรุ่นอายุ 10-12 ปี ฉีดวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรม สำหรับผู้ใหญ่กระตุ้น 1 เข็ม และฉีดซ้ำทุก 10 ปี
3. ผู้ใหญ่ หากไม่เคยฉีดไอกรนเข็มกระตุ้น แนะนำให้ฉีดวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรม สำหรับผู้ใหญ่กระตุ้น 1 เข็ม และฉีดซ้ำทุก 10 ปี (อายุลงท้ายเลข 0 )
4. หญิงตั้งครรภ์ ฉีดวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรม สำหรับผู้ใหญ่กระตุ้น 1 เข็ม หรือวัคซีนไอกรนเดี่ยว ตั้งแต่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อกระตุ้นภูมิให้ส่งต่อไปยังทารกได้
5. ครอบครัวที่มีเด็กทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน ทุกคนในบ้านควรฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันการนำเชื้อไปติดทารก
วัคซีนและการติดเชื้อไอกรน ภูมิคุ้มกันจะป้องกันได้เพียง 5-7 ปี เท่านั้น
หากมีการระบาดและได้รับวัคซีนบาดทะยัก-คอตีบมาไม่เกิน 5 ปี แนะนำให้ฉีดวัคซีนไอกรนเดี่ยวได้
ข้อมูลโดย พญ.อมลวรรณ มณีไชยวุฒิ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
โรงพยาบาลทหารผ่านศึก